วันที่ อาทิตย์ มกราคม 2554
|
![]() |
เปิดตัวมอเตอร์เวย์-รถไฟ เชื่อมอ่าวไทย-อ่าวเบงกอล : แหลมฉบัง - กรุงเทพฯ – ท่าเรือน้ำลึกทวาย![]()
เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีข่าวจากกรมทางหลวง โดยนายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง ได้เปิดเผยสื่อมวลชนว่าพร้อมสนับสนุนนโยบายการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ ช่วงบางใหญ่ด่านศุลกากรบ้านน้ำพุร้อน ของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นถนนฝั่งละ 2 เลน รวม 4 ช่องจราจร เพื่อเชื่อมการขนส่งจากท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือทวายประเทศพม่า ของรัฐบาล ระยะทางประมาณ 98 กม. วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท
มีรายงานว่าดครงการนี้ผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว สำหรับช่วงกาญจนบุรีด่านศุลกากรบ้านน้ำพุร้อน(ชายแดนไทย) ระยะทางประมาณ 70 กม.นั้น ได้ตั้งงบประมาณศึกษาความเหมาะสม ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในงบประจำปี 2555 แต่ปัจจุบันแนวเส้นทางนี้มีถนนทางหลวง 2 ช่องจราจรรองรับการจราจรอยู่แล้ว อาจต้องกำหนดแนวเส้นทางใหม่
![]()
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ กรมทางหลวงก็สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ทันที ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น เชื่อว่ารัฐบาลจะใช้วิธีการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบ Public Private Partnerships หรือPPPs ส่วนงานก่อสร้างจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ทั้งนี้ กรมทางหลวงได้แบ่งการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี ออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ช่วงบางใหญ่-นครปฐม ระยะทาง 51 กม. วงเงินลงทุน 23,430 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,900 ล้านบาท และค่าก่อสร้าง 18,530 ล้านบาท
ส่วนระยะที่ 2 ช่วงนครปฐม-กาญจนบุรี ระยะทาง 47 กม. วงเงินลงทุน 12,280 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 650 ล้านบาท และค่าก่อสร้าง 11,630 ล้านบาท
สำหรับเส้นทางนี้เป็นโครงการที่ผมคิดว่าน่าสนใจเพราะจะเป็นเส้นทาง Land bridge ที่เสร็จเร็วที่สุดเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก–ตะวันตก หรือจากอ่าวไทยไปอ่าวเบงกอลที่ระยะทางสั้นที่สุดคือ หากวัดจากโครงการท่าเรือทวายไปถึงชายแดนฝั่งไทยที่ด่างศุลากรกรพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 160 กิโลเมตร จากย่านพุน้ำร้อน-เมืองกาญจนบุรี ระยะทาง 70 กิโลเมตร และจากจังหวัดกาญจนบุรีเข้ากรุงเทพฯ อีก 160 กิโลเมตร เบ็ดเสร็จรวมระยะทางจากทวายถึงกรุงเทพฯ ประมาณ 390 กิโลเมตร
![]()
แน่นอนความคึกคักในพื้นที่ปัจจุบันคือด่านการค้าชายแดนที่พุน้ำร้อน ที่ดินกลายเป็นทองคำ มีการเก็งกำไรตามธรรมชาติ เพราะอนาคตคือจุดเชื่อมโยงเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดระหว่างพม่า และไทย และจังหวัดกาญจนบุรีก็วางตำแหน่งให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภาคตะวันตก โดยมีเป้าหมายที่ทวาย และแหลมฉบัง ที่จินตนาการถึงปริมาณสินค้าที่จะขนส่งผ่านตาม capacity ของท่าเรือทวาย ที่สามารถรองรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ได้มากกว่า 1 แสนเดตเวตตัน หรือขนาดเรือบรรทุกความจุตู้คอนเทนเนอร์ 5,500-6,000 ทีอียู/ลำ ก็แล้วกันครับ
![]()
นอกจากนั้นรัฐบาลก็ขานรับ และเป็นป๋าดันเต็มที่ โดยที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งและบริการของประเทศ (กบส.) ได้มีมติแต่งตั้งนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงฝั่งตะวันตกกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับท่าเรือน้ำลึกทวายและเขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย
นอกจากนี้ กบส.ยังกำหนดแผนพัฒนาการขนส่งและโลจิสติกส์ เชื่อมโยงพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทย (อีเทิร์นซีบอร์ด) จากท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งภาคเอกชนได้เสนอให้รัฐบาลลงทุนระบบราง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งทางรางระหว่างชายแดนไทย-พม่าถึงท่าเรือน้ำลึกทวาย โดยเสนอให้ยกระดับสถานีรถไฟท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็นชุมทางขนส่งสินค้า และเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟในฝั่งพม่าไปยังท่าเรือน้ำลึกทวาย
![]()
สำหรับท่าเรือน้ำลึกทวาย ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพม่า มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นท่าเรือน้ำลึกที่สามารถรองรับเรือสินค้าน้ำหนัก 3 แสนตัน และสามารถเชื่อมโยงตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ผ่านทางมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน เบื้องต้นจะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ คาดจะแล้วเสร็จในปี 2556 โดยบริษัท อิตัลไทย ดีเวลอปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานก่อสร้างท่าเรือ น้ำลึกทวาย
ความเหมาะสมในการพัฒนาท่าเรือทวาย สศช.ระบุว่า พื้นที่ท่าเรือและพื้นที่หลังท่าถูกออกแบบไว้เพื่อรองรับอุตสาหกรรม มีพื้นที่ประมาณ 250 ตร.ก.ม. หรือกว่า 60,000 ไร่ ซึ่งใหญ่กว่าพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ประมาณ 3 เท่า ความลึกร่องน้ำ 25-40 เมตร และมีแนว กันคลื่นธรรมชาติ
![]()
สำหรับแผนงานโดยย่อของบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ที่จะดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือทวายคือ
ส่วนที่ 1 เป็นการเตรียมใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ2 ปีเศษ เช่น การเตรียมพื้นที่ การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การทำแผนโครงการและแผนด้านการเงิน ซึ่งบริษัทได้เสนอตัวต่อรัฐบาลพม่าขอเป็นผู้ศึกษาเส้นทางจากทวายมาไทยหลายเส้นทางและผลสรุปเส้นทางที่จะมาเชื่อมกับไทยอยู่ที่บ้านพุน้ำร้อน อำเภอบ้านเก่าและบริษัทกำลังดำเนินการก่อสร้างเส้นทางอยู่
ส่วนที่ 2 เป็นงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 3 เฟส คือ
- เฟส 1 ระยะเวลา 5 ปี (1 มกราคม 2554-31 ธันวาคม 2558) ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึกพร้อมสิ่งอำนายความสะดวก รวมทั้งพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม โครงข่ายถนนหลักภายในโครงการและสาธารณูปโภคพื้นฐานหลักของนิคมฯ และเส้นทางเชื่อมต่อโครงการไปยังประเทศไทย
- เฟส 2 มีระยะเวลา 5 ปี จะเริ่มหลังจากเฟสที่ 1 เริ่มไปได้ 3 ปี (1 มกราคม 2556-31 ธันวาคม 2561) ประกอบด้วยโครงข่ายถนนภายในโครงการระยะที่ 2 และระบบสาธารณูปโภคเพิ่มเติมของโครงการรวมทั้งศูนย์การค้าและศูนย์ราชการ
- เฟสที่ 3 มีระยะเวลา 5 ปี จะเริ่มหลังจากเฟส 1 แล้วเสร็จ (1 มกราคม 2559-31 ธันวาคม 2563) ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึกส่วนที่ 2 พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงข่ายถนนภายในโครงการเต็มรูปแบบ รวมทั้งทางรถไฟ Standard Gauge รางกว้าง1.435 เมตร จากโครงการถึงประเทศไทย ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง จากโรงไฟฟ้าในพื้นที่โครงการถึงประเทศไทย และระบบท่อส่งน้ำมัน และก๊าซจากโครงการถึงประเทศไทย
|
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556
เปิดตัวมอเตอร์เวย์-รถไฟ เชื่อมอ่าวไทย-อ่าวเบงกอล : แหลมฉบัง - กรุงเทพฯ – ท่าเรือน้ำลึกทวาย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรีผ่านตรงไหน?
ตอบลบsunglui.blogspot.com
เวนคืนมอเตอร์เวย์บางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรีผ่านตรงไหน? อัพเดทเมื่อ มิถุนายน 21st, 2012 คลิ๊กที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่ กรมทางหลวงคลอด พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายใหม่ “บาง